วันศุกร์ที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2562

Kahoot! ตัวอย่างเกมที่นิยมนำมาใช้ในห้องเรียน


Kahoot! คือแอปพลิเคชันที่สาหรับสร้างคำถามและตอบคำถาม
ขั้นตอนและวิธีการดำเนินงาน :

1.การสร้างคำถาม
     1.1 การสร้างคำถามสามารถเข้าใช้ผ่านทาง https://getkahoot.com เมื่อเข้าสู่เว็บไซต์แล้วให้ทำการสมัคร            โดยกดที่ปุ่ม Sign Up For Free
     1.2 โดยการสมัครจะให้ทำการเลือกหน้าที่โดยแบ่งเป็น อาจารย์ นักเรียน นักธุรกิจ เป็นต้น
     1.3 จากนั้นจะมีช่องว่างให้กรอกข้อมูล สถานที่ทำงาน โรงเรียนหรือมหาวิทยาลัย
            1.3.1 ชื่อผู้ใช้
            1.3.2 อีเมล์และยืนยันอีเมล์
            1.3.3 รหัสผ่าน
            1.3.4 Password
     1.4 เมื่อเข้าสู่ระบบแล้ว จะปรากฏหน้าจอในการสร้างคำถาม โดยแยกรูปแบบของคำถามออกเป็น 3 รูปแบบ
            1.4.1 คำถามหลายตัวเลือก (Quiz)
            1.4.2 แบบสอบถามความคิดเห็น (Discussion)
            1.4.3 แบบสำรวจ (Survey)
     1.5 เมื่อทำการเลือกรูปแบบคำถามที่ต้องการแล้ว จะปรากฏหน้ากรอกข้อมูลรายละเอียดหัวข้อของคำถาม         โดยแบ่งเป็น
            1.5.1 ชื่อหัวข้อของคำถาม
            1.5.2 คำอธิบายคาถาม
            1.5.3 รูปภาพหรือวีดีโอปกของคำถาม
            1.5.4 ตัวเลือกผู้ที่สามารถมองเห็นคำถาม (เห็นทุกคน/เห็นคนเดียว)
            1.5.5 ภาษา
            1.5.6 ประเภทของกลุ่มผู้เข้าร่วม
            1.5.7 เครดิตที่มาของเนื้อหา
            1.5.8 วีดีโอแนะนำ
โดยเมื่อกรอกข้อมูลเรียบร้อยแล้วให้กดที่ปุ่ม Ok, go

     1.6 เมื่อสร้างหัวข้อของคำถามแล้วจะปรากฏหน้าสาหรับเพิ่มคำถาม โดยจะแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ
            1.6.1 รูปภาพ ชื่อหัวข้อ คำอธิบาย ซึ่งสามารถแก้ไขได้
            1.6.2 ส่วนสร้างคำถามโดยกดที่ปุ่ม Add Question
     1.7 การสร้างคำถามจะมีเมนูต่าง ๆ ปรากฏบนหน้าจอดังนี้
            1.7.1 ตั้งชื่อคำถาม เลือกเวลาในการตอบและเปิด/ปิดการนับคะแนนในข้อนั้นๆ
            1.7.2. ใส่รูปภาพหรือวีดีโอที่ใช้ประกอบคาถาม โดยสามารถอัพโหลด
            1.7.3. ตัวเลือกคาตอบ โดยจาเป็นต้องใส่อย่างน้อย 2 ตัวเลือก และเลือกว่าจะให้คำตอบใดเป็นคำตอบ            ที่ถูกต้องโดยกดที่ปุ่มเครื่องหมายถูก

2.เมื่อสร้างชุดคำถามเรียบร้อยแล้วสามารถกดเริ่มการใช้งานได้โดยเข้าที่หน้า My Kahoots จากนั้นกดที่ปุ่ม PLAY เพื่อเริ่มการใช้งาน โดยจะปรากฏหน้าต่างเริ่มเกม โดยแบ่งเป็นแบบ 1 เครื่องต่อ 1 ผู้ตอบ และ 1 เครื่องหลายผู้ตอบ และมีตัวเลือกเสริมสำหรับรูปแบบคาถามอีกด้วย

3.เมื่อทำการเริ่มจะมีรหัส (PIN) เป็นรหัสที่ใช้สาหรับให้ผู้ตอบใช้เพื่อเช้าร่วมการตอบคำถาม

4.ผู้ที่ต้องการตอบคำถามสามารถเข้าใช้งานผ่านทาง https://kahoot.it หรือ แอปพลิเคชันบนสมาร์ทโฟนซึ่งจะมีช่อง  ที่ใช้สาหรับกรอกรหัสผ่าน และชื่อของผู้ตอบ
เมื่อเริ่มการถามคำถามผู้ตอบจะเห็นเพียงคำถามโดยคำตอบจะอยู่บนหน้าจอของผู้ถามเท่านั้น



________________________________________________________________________________

รายการอ้างอิง

นุชจรี สละริม. (2562).
        Game Based Learing ทางเลือกการเรียนรู้แบบ Plearn (play+learn).สืบค้นเมื่อ20กันยายน 2562.
        สืบค้นจาก  https://www.gotoknow.org/home?fbclid=IwAR3CBLP2KesWu1
        EuZRANsqKJJfrf1KWOokoocwf2UnhiFwp22AcBPxqrl3Q

ภาสกร ใหลสกุล. (2558).
        (Digital) Game-based learning เรียนๆ เล่นๆ สร้างความเป็นเลิศ (ตอนที่ 1).
        สืบค้นเมื่อวันที่ 23 กันยายน 2562, จาก https://tednet.wordpress.com/2015/09/01/digital-game-based-                    learning- เรียบๆ-เล่นๆ-สร้างคว/

สุพจน์ พ่วงกำเหนิด. (2560).
        Kahoot! : คู่มือการใช้งาน Kahoot!. สืบค้นเมื่อวันที่ 26 กันยายน 2562.
        สืบค้นจาก http://northbkklibrary.wordpress.com/2018/02/06/kahoot-คู่มือการใช้งานการใช้งาน-hoot



วันพฤหัสบดีที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2562

การใช้ Game Based Learning ในห้องเรียน







    ________________________________________________________________________________


     เกมในยุคปัจจุบันสามารถนำเสนอประสบการณ์ภาพจำลองสถานการณ์ต่างๆ        ได้หลากหลาย และยังสามารถที่รวบรวมความรู้หลากหลายสาขามารวมไว้                ในเรื่องเดียวกันได้  ซึ่งจะมีวิธีการมากมายในการนำเกมมาใช้ในห้องเรียน                  ซึ่งก็อาจนำมาซึ่งความสับสนมากมายจนอาจทำให้ไม่ทราบว่าจะเริ่มอย่างไรดี          ดังนั้น จึงมีคำแนะนำถึงขั้นตอนการนำเกมมาใช้ในห้องเรียนดังนี้
ขั้นตอนที่ 1 : เสาะหาแหล่งทรัพยากรต่างๆ
มีระบบฮาร์ดแวร์แบบใดในห้องเรียนของคุณ? เป็นระบบห้องเรียนแบบ BYOD (bring your own device) หรือไม่ ห้องเรียนคุณมีฮาร์ดแวร์ให้กับนักเรียนใช้อย่างเพียงพอหรือไม่  การใช้เกมในการช่วยสอนจะเป็นแบบกิจกรรมให้นักเรียนทั้งห้องเรียน            หรือจะเป็นเพียงแค่เครื่องจุดเดียวหรือบางจุดที่จะช่วยในการเล่นเกม
ขั้นตอนที่ 2 : หาเกมที่เหมาะสม
     เมื่อทราบถึงฮาร์ดแวร์ที่คุณมีอยู่แล้ว จากนั้นคุณก็ต้องค้นหาว่าจะใช้เกมอะไรมาเล่นในห้องเรียนดี สามารถค้นหาเกมใน Google Play หรือ Apple App Store หรือ Windows Store โดยจะมีแอพประเภทเพื่อการศึกษาแยกไว้อย่างชัดเจน  ซึ่งมีให้เลือกมากมายและเพื่อจะได้มีการเลือกที่ฉลาดรอบคอบขึ้นก็ต้องเข้าไปหาข้อมูล    เพิ่มเติมใน blog และเว็บไซต์ต่างๆ 
ขั้นตอนที่ 3 : ทดลองเล่น(เกม)ให้เข้าใจ
หลังจากเลือกเกมแล้ว คุณก็ต้องลองเล่นเกมจนกระทั่งคุณเข้าใจเกม                เพราะการนำเกมมาเล่นคุณจะต้องเข้าใจกลไก (mechanic) ของเกมเป็นอย่างดี        ว่าจะมาช่วยกระตุ้นให้ผู้เรียนในการเรียนรู้ได้อย่างไร
ขั้นตอนที่ 4 : หาแหล่งสนับสนุนช่วยเหลือ
เว็บไซต์ที่ช่วยสนับสนุนทั่วไปและให้ความรู้เรื่องเกมในห้องเรียน เช่น 
  • Playfullearning  เป็นเว็บไซต์มีทั้งบทความ วิดีโอ และอื่นๆ ที่จะช่วยคุณสรรสร้างการนำเกมมาช่วยในการสอน เช่น การใช้เกม Quandary มาสอนในเรื่องจริยธรรม และการใช้เกม Angry Birds มาใช้การสอนวิชาฟิสิกส์เบื้องต้นและในเว็บไซต์นี้       จะช่วยให้คำแนะนำเกมต่างๆ เพื่อเลือกในการนำมาใช้ช่วยสอนในวิชาต่างๆ
Playful Learning01
เกม Quandary ช่วยสอนเรื่องจริยธรรม
Quandary01
เกม Angry Birds ช่วยสอนฟิสิกส์เบื้องต้นได้เป็นอย่างดี
Angry Bird02


    ________________________________________________________________________________
รายการอ้างอิง

นุชจรี สละริม. (2562).
        Game Based Learing ทางเลือกการเรียนรู้แบบ Plearn (play+learn).สืบค้นเมื่อ20กันยายน 2562.
        สืบค้นจาก  https://www.gotoknow.org/home?fbclid=IwAR3CBLP2KesWu1
        EuZRANsqKJJfrf1KWOokoocwf2UnhiFwp22AcBPxqrl3Q

ภาสกร ใหลสกุล. (2558).
        (Digital) Game-based learning เรียนๆ เล่นๆ สร้างความเป็นเลิศ (ตอนที่ 1).
        สืบค้นเมื่อวันที่ 23 กันยายน 2562, จาก https://tednet.wordpress.com/2015/09/01/digital-game-based-                    learning- เรียบๆ-เล่นๆ-สร้างคว/

สุพจน์ พ่วงกำเหนิด. (2560).
        Kahoot! : คู่มือการใช้งาน Kahoot!. สืบค้นเมื่อวันที่ 26 กันยายน 2562.
        สืบค้นจาก http://northbkklibrary.wordpress.com/2018/02/06/kahoot-คู่มือการใช้งานการใช้งาน-hoot

Game Based Leaning คืออะไร ?







    ________________________________________________________________________________


Game Based Learning

     Game Based Learning คือ สื่อในการเรียนรู้รูปแบบหนึ่งซึ่งถูกออกแบบมาเพื่อให้มีความสนุกสนานไปพร้อมๆกับการได้รับความรู้ โดยสอดแทรกเนื้อหาทั้งหมดของหลักสูตรนั้นๆเอาไว้ในเกมและให้ผู้เรียนลงมือเล่นเกม โดยที่ผู้เรียนจะได้รับความรู้ต่างๆของหลักสูตรนั้นผ่านการเล่นเกม มีผลงานวิจัยเกี่ยวกับการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งผลออกมาว่าการเรียนการสอนที่ได้ผลคือต้องเรียนแล้วได้ความรู้พร้อมกับได้รับความสนุกสนานไปด้วย นักคิดหลายท่าน(Randal W. Kindleyและคณะ, 2002; Jennifer Jenson และคณะ, 2002; Maja Pivec และคณะ, 2002) เสนอแนวคิดในการดัดแปลงการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับผู้เรียนซึ่งเป็นที่มาของคำว่า Edutainment เป็นคำศัพท์ที่มาจาก Education บวกกับ Entertainment ความหมายก็คือ การศึกษาที่มาพร้อมกับความบันเทิงและอีกศัพท์หนึ่งที่ใช้แพร่หลายเช่นกันคือ Plearn เป็นคำศัพท์ที่มาจาก Play บวกกับ Learn ความหมายก็คือ เล่นและเรียนกระบวนการเรียนรู้แบบเพลิน (สมหวัง วิทยาปัญญานนท์)
     1. ครูต้องหยุดการสอนแบบตะลุมบอลละวางจากการสอนแบบ “อัด” “ยัดเยียด”
“เร่งความเร็ว”
     2. ครูต้องคิดใหม่ทำใหม่คิดใหม่อย่างสร้างสรรค์เข้าหาสายกลาง ลองหาวิธีการใหม่ๆ
ให้เปลี่ยนแนวคิดทัศนคติใหม่ หนีความเคยชินต่างๆที่เร่งสอนให้ทันหลักสูตร
     3. ครูต้องออกแบบการเรียนการสอนใหม่เอาวัตถุประสงค์ที่จะให้เด็กเรียนรู้เป็นตัวตั้ง เอาพฤติกรรมศิษย์เป็นตัวตั้ง และออกแบบวิธีการสอนใหม่เพื่อให้ศิษย์เรียนรู้เองแบบธรรมชาติ
     4. เปิดโอกาสให้เด็กทุกคนมีโอกาสพูดกับครูเพื่อค้นหาแนวร่วม (Learning  Participation) วิธีการเรียนรู้ด้วยกัน ว่าจะเรียนแบบไหนดีจึงจะสนุก ครูจะสอนแบบไหนดีจึงจะสนุก
     5. ต่างฝ่ายต่างสังเกตกันว่า อากัปกิริยา การเรียนการเล่น ว่าเพลิดเพลินหรือเปล่า มีอาการเซ็งๆ หรือไม่
ถ้ามีจะแก้ไขอย่างไร
     6. ในเบื้องต้นอาจใช้วิธีการเรียนแบบแยกส่วนครึ่งชั่วโมงเรียนจากการฟัง อีกครึ่งชั่วโมงเป็นเล่นตามทีเรียน
     7. หากชำนาญก็จะรวมกระบวนการเรียนและเล่นเป็นหนึ่งเดียว แบบบูรณาการ

การออกแบบ Game Based Learning ที่มีประสิทธิภาพ (สกุล สุขศิริ,2550)

     1) Practice การออกแบบ Game Based Learning นั้นจะต้องแฝงแบบฝึกหัดต่างๆเพื่อให้ผู้เรียนได้ทดลอง
     2) Learning by Doingจะต้องเน้นให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ด้วยตัวเองการเรียนรู้ด้วยตัวเองจะทำให้เข้าใจได้ลึกซึ้งกว่า
     3) Learning from Mistakesให้ผู้เรียนเรียนรู้จากความผิดพลาดการเรียนรู้จากความผิดพลาดไม่ใช่เรื่องเสียหายแต่ยังจะช่วยให้ผู้เรียนจำได้ดียิ่งขึ้นอีกด้วย
     4) Goal-Oriented Learningต้องมีเป้าหมายที่ชัดเจนในเกมเพื่อให้ผู้เรียนพยายามที่จะทำให้บรรลุเป้าหมาย
     5) Learning Pointต้องแฝงไปด้วยข้อมูลหรือประเด็นหลักๆที่สำคัญต่างๆที่เกี่ยวข้องทั้งหมดที่ผู้เรียนสมควรรู้เพื่อผู้เรียนจะได้นำเอาความรู้นั้นไปใช้งานได้จริง 

บทบาทของวิทยากรในการเรียนรู้แบบ  Game Based Learning (สกุล สุขศิริ, 2550)

     1) Motivator  ต้องรับบทบาทเป็นคนที่คอยกระตุ้นให้ผู้เรียนได้ทดลองทำ ได้ฝึกฝนและชมเชยเมื่อผู้เรียนทำถูกต้อง เพื่อเป็นการสร้างขวัญและกำลังใจ
     2) Content Structurer  ต้องเป็นผู้ควบคุมให้การเรียนนั้นได้เนื้อหาตามที่วางหัวข้อเอาไว้ และ Learning Point ตามที่ตั้งใจ
     3) Debriefer   ต้องเป็นผู้ให้ความรู้ สรุปประเด็นต่างๆที่สำคัญและถ่ายทอดให้แก่ผู้เรียนเพื่อให้ผู้เรียนเข้าใจมากขึ้น
     4) Facilitator   ต้องเป็นผู้อำนวยความสะดวกในการเรียนรู้ สามารถแนะนำบอกกฎ กติกาต่างๆและให้ข้อคิดต่างๆได้
แต่จะต้องไม่บอกวิธีการเล่นทั้งหมด ต้องเน้นให้ผู้เรียนเรียนรู้ด้วยตัวเอง






________________________________________________________________________________

รายการอ้างอิง

นุชจรี สละริม. (2562).
        Game Based Learing ทางเลือกการเรียนรู้แบบ Plearn (play+learn).สืบค้นเมื่อ20กันยายน 2562.
        สืบค้นจาก  https://www.gotoknow.org/home?fbclid=IwAR3CBLP2KesWu1
        EuZRANsqKJJfrf1KWOokoocwf2UnhiFwp22AcBPxqrl3Q

ภาสกร ใหลสกุล. (2558).
        (Digital) Game-based learning เรียนๆ เล่นๆ สร้างความเป็นเลิศ (ตอนที่ 1).
        สืบค้นเมื่อวันที่ 23 กันยายน 2562, จาก https://tednet.wordpress.com/2015/09/01/digital-game-based-                    learning- เรียบๆ-เล่นๆ-สร้างคว/

สุพจน์ พ่วงกำเหนิด. (2560).
        Kahoot! : คู่มือการใช้งาน Kahoot!. สืบค้นเมื่อวันที่ 26 กันยายน 2562.
        สืบค้นจาก http://northbkklibrary.wordpress.com/2018/02/06/kahoot-คู่มือการใช้งานการใช้งาน-hoot