________________________________________________________________________________
เกมในยุคปัจจุบันสามารถนำเสนอประสบการณ์ภาพจำลองสถานการณ์ต่างๆ ได้หลากหลาย และยังสามารถที่รวบรวมความรู้หลากหลายสาขามารวมไว้ ในเรื่องเดียวกันได้ ซึ่งจะมีวิธีการมากมายในการนำเกมมาใช้ในห้องเรียน ซึ่งก็อาจนำมาซึ่งความสับสนมากมายจนอาจทำให้ไม่ทราบว่าจะเริ่มอย่างไรดี ดังนั้น จึงมีคำแนะนำถึงขั้นตอนการนำเกมมาใช้ในห้องเรียนดังนี้
ขั้นตอนที่ 1 : เสาะหาแหล่งทรัพยากรต่างๆ
มีระบบฮาร์ดแวร์แบบใดในห้องเรียนของคุณ? เป็นระบบห้องเรียนแบบ BYOD (bring your own device) หรือไม่ ห้องเรียนคุณมีฮาร์ดแวร์ให้กับนักเรียนใช้อย่างเพียงพอหรือไม่ การใช้เกมในการช่วยสอนจะเป็นแบบกิจกรรมให้นักเรียนทั้งห้องเรียน หรือจะเป็นเพียงแค่เครื่องจุดเดียวหรือบางจุดที่จะช่วยในการเล่นเกม
ขั้นตอนที่ 2 : หาเกมที่เหมาะสม
เมื่อทราบถึงฮาร์ดแวร์ที่คุณมีอยู่แล้ว จากนั้นคุณก็ต้องค้นหาว่าจะใช้เกมอะไรมาเล่นในห้องเรียนดี สามารถค้นหาเกมใน Google Play หรือ Apple App Store หรือ Windows Store โดยจะมีแอพประเภทเพื่อการศึกษาแยกไว้อย่างชัดเจน ซึ่งมีให้เลือกมากมายและเพื่อจะได้มีการเลือกที่ฉลาดรอบคอบขึ้นก็ต้องเข้าไปหาข้อมูล เพิ่มเติมใน blog และเว็บไซต์ต่างๆ
ขั้นตอนที่ 3 : ทดลองเล่น(เกม)ให้เข้าใจ
หลังจากเลือกเกมแล้ว คุณก็ต้องลองเล่นเกมจนกระทั่งคุณเข้าใจเกม เพราะการนำเกมมาเล่นคุณจะต้องเข้าใจกลไก (mechanic) ของเกมเป็นอย่างดี ว่าจะมาช่วยกระตุ้นให้ผู้เรียนในการเรียนรู้ได้อย่างไร
ขั้นตอนที่ 4 : หาแหล่งสนับสนุนช่วยเหลือ
เว็บไซต์ที่ช่วยสนับสนุนทั่วไปและให้ความรู้เรื่องเกมในห้องเรียน เช่น
- Playfullearning เป็นเว็บไซต์มีทั้งบทความ วิดีโอ และอื่นๆ ที่จะช่วยคุณสรรสร้างการนำเกมมาช่วยในการสอน เช่น การใช้เกม Quandary มาสอนในเรื่องจริยธรรม และการใช้เกม Angry Birds มาใช้การสอนวิชาฟิสิกส์เบื้องต้นและในเว็บไซต์นี้ จะช่วยให้คำแนะนำเกมต่างๆ เพื่อเลือกในการนำมาใช้ช่วยสอนในวิชาต่างๆ

เกม Quandary ช่วยสอนเรื่องจริยธรรม

เกม Angry Birds ช่วยสอนฟิสิกส์เบื้องต้นได้เป็นอย่างดี

________________________________________________________________________________
รายการอ้างอิง
นุชจรี สละริม. (2562).
Game Based Learing ทางเลือกการเรียนรู้แบบ Plearn (play+learn).สืบค้นเมื่อ20กันยายน 2562.
สืบค้นจาก https://www.gotoknow.org/home?fbclid=IwAR3CBLP2KesWu1
EuZRANsqKJJfrf1KWOokoocwf2UnhiFwp22AcBPxqrl3Q
ภาสกร ใหลสกุล. (2558).
(Digital) Game-based learning เรียนๆ เล่นๆ สร้างความเป็นเลิศ (ตอนที่ 1).
สืบค้นเมื่อวันที่ 23 กันยายน 2562, จาก https://tednet.wordpress.com/2015/09/01/digital-game-based- learning- เรียบๆ-เล่นๆ-สร้างคว/
สุพจน์ พ่วงกำเหนิด. (2560).
Kahoot! : คู่มือการใช้งาน Kahoot!. สืบค้นเมื่อวันที่ 26 กันยายน 2562.
สืบค้นจาก http://northbkklibrary.wordpress.com/2018/02/06/kahoot-คู่มือการใช้งานการใช้งาน-hoot
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น